ไพล

ไพล Zingiber cassumunar Roxb. Zingiberaceae


เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 0.8 และมีสาร ที่ให้สี ซึ่งจากการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการค้นคว้าสารสำคัญที่มีสรรพคุณแก้หอบหืดและมีการวิจัยทางคลีนิค โดยใช้รักษาโรคหืดในเด็ก และไม่มีพิษเฉียบพลัน

ใช้เหง้าสดเป็นยาภายนอก โดยฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่า ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ และบวม จึงมีการผลิตยาขึ้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ สามารถทากันยุงได้ ใช้เหง้ากินเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ แก้บิด สมานลำไส้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-hydroxy-1-butenyl)veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใข้ผงไพลกับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหิด สรุปว่าให้ผลดี ทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง



ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าไพลแก่สด และแห้ง มีรสเผ็ดเล็กน้อย ปร่า มีกลิ่นหอม


ขนาดและวิธีใช้ ใช้เหง้าสดที่สะอาด 1 เหง้า ตำ เติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ หรือ ตำไพลให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย นำมาห่อเป็นลูกประคบ 2 ลูก อังไอน้ำให้ความร้อน ใช้ประคบบริเวณปวดเมื่อยและฟกช้ำจนกว่าลูกประคบเย็น นำไปอังไอน้ำใหม่ ทำวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นจนกว่าจะหาย




สรรพคุณ รักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำการที่เหง้าไพลแก่สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย และเคล็ดขัดยอกได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถลดอาการอักเสบ และลดอาการปวดได้ เนื่องจาก มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะแห่ง