น้ำมันงา





งา (Sesame) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Sesamum indicum L. วงศ์ Pedaliaceae งาเป็นไม้ล้มลุกและเป็นไม้
พื้นเมืองของประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Sesamum indicum L. แสดงถึงการพบต้นไม้ชนิดว่าอยู่ในแถบดินแดนโอเรียนเต็ลนี้เอง ซึ่งก็หมายถึงประเทศไทยด้วย มีการปลูกงามากที่ประเทศจีน อินเดียไปจนถึงเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา งาเป็นต้นไม้ขนาดเล็กสูง 1-2 เมตร มีใบบอบบาง ดอกสีขาวหรือชมพู เมื่อผลแก่จัด จะได้เมล็ดงาจำนวนมากในฝักนั้น

เมล็ดงามีประโยชน์ ประกอบด้วยน้ำมันระหว่าง 46.4 – 52.0% มีโปรตีน 19.8 – 24.2% ซึ่งมีสัดส่วนดี จึงเป็นอาหารที่ดี มีสารมีไธโอนีนและทริพโทแฟ็นสูง มีแคลเซี่ยม โปรแตสเซี่ยมฟอสฟอรัส วิตามินบี และเหล็ก น้ำมันงาที่ดีได้มาจากการหีบโดยไม่ใช้ความร้อน (cold pressed) น้ำมันงาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของโมเลกุลน้ำมัน และไม่มีสารเคมีตกค้าง

น้ำมันงามีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acids) ระหว่าง 40.9 – 42.0% ชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acids) ระหว่าง 42.5 – 43.3% ซึ่งชนิดหลังนี้ เชื่อว่าช่วยป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งและโรคหัวใจ

สรรพคุณ
คนโบราณนิยมใช้น้ำมันงาในการรักษาตัวเองมานานหลายพันปีมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดียและจีน สรรพคุณต่างๆที่รวบรวมได้มีดังนี้

 1. มีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย รา และไวรัส
 2. สามารถลดการอักเสบ
 3. มีรายงานการทดลองว่าสามารถทำให้หลอดเลือดแดงดีขึ้น ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด   (Atherosclerosis)
 4. ใช้กับโรคเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบ เบาหวาน และปวดศีรษะเรื้อรัง
 5. ในการศึกษาทดสอบในห้องปฏิบัติการ น้ำมันงาสามารถสกัดการเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง (malignant melanoma) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเป็นเพราะมีกรด linoleic ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น (EFA)
 6. มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเมื่อซึมซับลงไปใต้ผิวหนังแล้วจะทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น จึงมีสรรพคุณต้านการเกิดมะเร็งด้วย
 7. เมื่อเข้าสู่หลอดเลือดจะช่วยลดจำนวนไลโปโปรตีนชนิดเบา (LDL) ในหลอดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
 8. น้ำมันงาช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ให้เป็นปกติ
 9. ภายในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เซลล์บางชนิดใช้ไขมันแทนน้ำตาล น้ำมันงาจะเป็นอาหารที่จำเป็นสำ หรับเซลล์เหล่านี้
10. เมื่อใช้กลั้วคอและบ้วนปากจะลดเชื้อที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เชื้อก่อโรคเจ็บคอ และเชื้อหวัด
11. ใช้หยอดจมูก (1-2 หยด) เมื่อเป็นไซนัสพบว่าได้ผลดี
12. ใช้ทาผิวผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง (Psoriasis) และผู้มีผิวแห้ง
13. ใช้ทาผิวและเคลือบเส้นผมเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดและลม
14. เมื่อทาผิวหนังจะช่วยจับสารพิษชนิดละลายน้ำได้ และเมื่อล้างหรืออาบน้ำ สารพิษที่จับไว้ก็จะหลุดไป น้ำมันงาจะช่วยจับสารพิษในกระแสเลือดเช่นเดียวกัน และนำไปสู่การขจัดออกจากร่างกายต่อไป
15. เมื่อใช้ทาผมและนวดศีรษะจะช่วยให้หนังศีรษะไม่แห้ง และช่วยรักษาเหาในกรณีที่เด็กติดเหา
16. การทาน้ำมันงานอกจากจะทำให้ผิวนุ่มแล้วจะช่วยรักษาแผลเล็กน้อยได้ เมื่อใช้เป็นน้ำมันนวดให้ใช้ทาแขนขาในลักษณะขึ้นลงและใช้วิธีคลึงเป็นวงกลมรอบๆ ข้อต่อ เพื่อกระตุ้นพลังธรรมชาติของข้อ ช่วยลดอาการปวดตามข้อได้ ชาวธิเบตใช้หยดจมูกข้างละ 1 หยดเพื่อช่วยให้นอนหลับ และลดความกระวนกระวาย
17. ใช้ทาผิวหน้าจะทำให้ผิวตึงขึ้น เมื่อทาบริเวณจมูกจะทำให้รูขุมขนไม่ให้เปิดมากไป ป้องกันการแก่ตัวของผิวหน้า ใช้ได้ดีแม้กับวัยรุ่นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำอางอื่นๆ เลย
18. ใช้ทาให้ทั่วตัวก่อนว่ายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดระคายเคือง จากสารคลอรีนที่ผสมไว้ในสระว่ายน้ำ น้ำมันงาดูดซึมเร็วไม่ติดค้างอยู่บนผิว
19. สำหรับผู้ต้องรับการรักษาด้วยการฉายรังสี น้ำมันงาจะช่วยบรรเทาอันตรายจากออกซิเจนอิสระที่เกิดจากการรักษาชนิดนี้
20. ผสมน้ำชำระส่วนปกปิดจะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการคัน (Vaginal yeast infections) และเนื่องจากน้ำมันงามีสารที่มีผลคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จึงมีผู้ใช้ทาเฉพาะที่เพื่อช่วยลดการเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดการบางตัวของผิวที่อาจทำให้มีอาการระคายเคืองเมื่อฮอร์โมนหญิงลดลง ชาวอินเดียใช้ทาหน้าท้องเมื่อปวดประจำเดือน
21. สำหรับทารกน้ำมันงาจะช่วยป้องกันการเกิดการระคาย เกิดผื่นแดงที่ผิวจากปัสสาวะและความอับชื้น (rash) เมื่อใช้ทาผิวบริเวณจมูกและหูจะช่วยป้องกันโรคผิวหนังที่อาจเกิดบริเวณเหล่านี้ สำหรับเด็กที่เป็นหวัดและติดหวัดบ่อย ใช้น้ำมันงาเช็ดภายในผนังจมูกเล็กน้อยจะช่วยลดการติดเชื้อที่มาเข้าสู่ร่างกายได้
22. มีผลในการระบายท้อง (Laxative) โดยจิบเพียง 1 ช้อนชาก่อนนอน อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก แต่อย่าใช้ขณะท้องร่วง

หมายเหตุ
น้ำมันงาที่หีบโดยวิธีไม่ใช้ความร้อนจะมีสีเหลืองใสออกเขียวเล็กน้อย และมีกลิ่นอ่อน ไม่ควรใช้กินมากกว่า 10% ของจำนวนแคลอรี่ต่อวันหนึ่งๆ หากมีอาการแพ้ควรงดใช้ เช่นเดียวกับอาหารและน้ำมันอื่นๆ


ข้อมูลโดย รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

น้ำมันรำข้าว



น้ำมันรำข้าว คือ น้ำมันพืชที่ผลิตจากน้ำมันรำข้าวดิบ ซึ่งสกัดจากรำข้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า  มีกรดไขมันอิ่มต้ว 18% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 45% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 37% น้ำมันรำข้าวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C)

น้ำมันรำข้าวได้จากการสกัดเอาสารสำคัญที่มีประโยชน์นานาชนิด ซึ่งมีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว และจมูกข้าว เช่น

กลุ่มสารฟอสโฟไลฟิด (Phospholipids) ซึ่งมีความสำคัญในการนำไปสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ประสาทสมอง และช่วยป้องกันเซลล์ประสาทจากสารที่เป็นพิษ และ อนุมุูลอิสระต่างๆ ช่วยลดเครียด และช่วนเสริมสร้างในด้านความจำ

กลุ่มเซราไมด์ (Ceramide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชั้นใต้ผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น การเสริมสร้างเซราไมด์ให้เพียงพอ ทั้งโดยการรับประทานหรือการให้ทางผิวหนังในรูปการทาครีม หรือโลชั่น จะช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง ปราศจากริ้วรอยย่นก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้เซราไมด์ ยังมีคุณสมบัติเป็นไวท์เทนเนอร์ (Whitener) ซึ่งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำบนผิวพรรณได้ีดี และยังเป็นมอยเจอไรเซอร์ (Moisturizer) ให้ความชุ่ม
ชื้นแก่ผิวอีกด้วย  ดูสบู่รำข้าว

กลุ่มกรดไขมันไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 6 และ กรดไลโนเลอิค หรือ โอเมก้า3 ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น โดยมีอยู่ประมาณ 33%

กลุ่มวิตามิน B -Complex ซึ่งช่วยในการทำงานของระบบประสาทดีขึ้น

กลุ่มแกมมา - ออไรซานอล มีฤทธิ์ในการลดระดับคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และยังมีฤทธิ์ในการลดความเครียด และรักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังป้องกันแสงยูวีได้ เมื่อใช้กินหรือใช้ทา ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นและต้านการอักเสบ สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก